ขอต้อนรับเข้ามาสู่การเรียนรู้ที่แปลก & ใหม่

การเข้ามาอาจมีสาระที่ไม่มากพอแต่ก้อพอจะมีสาระสำหรับคนไร้สาระพวกเดียวกัน5555+

ค้นหาบล็อกนี้

  • http://momayceza.blogspot.com/

วันศุกร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ระบบปฏิบัติการแบบเดี่ยว (Stand-Alone OS)

1 DOS (Disk Operating System)
2 Windows
3 UNIX
4 Mac OS X รุ่น OS X (X คือ เลข 10 แบบโรมัน)
5 Linux

○○○ -------------------------------------------○○○

1. DOS (Disk Operating System)

ระบบปฏิบัติการที่พัฒนาขึ้นเมื่อประมาณปี 1980 เพื่อใช้สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลเป็นหลัก ทำงานโดยใช้การป้อนชุดคำสั่งที่เรียกว่า command-line ที่ต้องป้อนข้อมูลทีละบรรทัดเพื่อให้เครื่องทำงานตามคำสั่งนั้นได้ ผลิตครั้งแรกมีชื่อเรียกว่า PC-DOS ใช้กับเครื่องของบริษัทไอบีเอ็ม ต่อมาบริษัทไมโครซอฟท์ได้สร้างระบบปฏิบัติการแบบใหม่ออกมาเป็นของตนเอง และเรียกชื่อใหม่ภายหลังว่า MS-DOS นั่นเอง

2. Windows

บริษัทไมโครซอฟท์นำแนวคิดระบบการใช้งานที่เรียกว่า GUI (Graphical User Interface) มาใช้ใน ระบบ ปฏิบัติการตัวใหม่มีชื่อว่า Windows ที่นำรูปแบบของสัญลักษณ์ภาพกราฟิกเข้ามาแทนการป้อนคำสั่ง ทีละบรรทัด ใช้หลักการแบ่งงานเป็นส่วน เรียกว่า หน้าต่างงาน (windows) ที่แสดงผลลัพธ์แต่ละโปรแกรม ปัจจุบันมีการผลิตและจำหน่ายหลายรุ่น เช่น Windows XP ซึ่งเป็นเวอร์ชันล่าสุดที่พัฒนาและจำหน่ายได้ทั่วโลก เวอร์ชันต่อไปคาดว่าจะเป็น Longhorn

3. UNIX

ระบบปฏิบัติการที่มักใช้กับผู้ที่มีความรู้ทางด้าน คอมพิวเตอร์ค่อนข้างมาก รองรับกับการทำงานของ ผู้ใช้ได้หลายคนพร้อมกัน (multi-user) มีความยืดหยุ่น ในการการปรับเปลี่ยนและแก้ไขระบบต่าง ๆ ได้ดี ปัจจุบันมีการพัฒนาระบบที่สนับสนุนให้ใช้งานได้ ทั้งแบบเดี่ยวและแบบเครือข่าย

4 . Mac OS X

สร้างขึ้นใช้งานเฉพาะคอมพิวเตอร์ของบริษัทแอปเปิลใช้งาน ด้านสิ่งพิมพ์ กราฟิกและศิลปะ ซึ่งรุ่นก่อนนี้จนถึง Mac OS 9 เป็นระบบปฏิบัติการแบบเฉพาะตัว แต่รุ่น OS X (X คือ เลข 10 แบบโรมัน) พัฒนาจากระบบปฏิบัติการแบบ UNIX แต่เป็นแบบ เฉพาะตัว คือเครื่องของบริษัทอื่น หรือที่ประกอบขึ้นมาเอง
ไม่สามารถใช้ระบบปฏิบัติการนี้ได้ เนื่องจากใช้ระบบปฏิบัติการ ประมวลผลที่ต่างกัน ทั้งนี้รูปแบบและการทำงานของ Mac OS X มีระบบสนับสนุนแบบ GUI เหมือนกับระบบปฏิบัติการ Windows
5 .Linux

ระบบปฏิบัติการที่นิยม มีสำหรับผู้ใช้คนเดียว และสำหรับงานควบคุม เครือข่ายเช่นเดียวกับระบบปฏิบัติการแบบ UNIX ซึ่งผู้ใช้สามารถพัฒนาและ แก้ไขชุดคำสั่งได้ฟรี ปัจจุบันมีการส่งเสริมให้ใช้ เพื่อลดปัญหาการขาดดุลและปัญหาการไม่พึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศ
ระบบ Linux พัฒนาโดยอาศัยต้นแบบการใช้งานของระบบUnix และ ใช้โค้ดที่เขียนและเผยแพร่ในแบบโอเพนซอร์ส (open source) ที่เปิดเผย โปรแกรมที่ผู้ใช้สามารถพัฒนา/แก้ไขระบบได้เอง มีการผลิตมาหลายชื่อ ประเทศไทยมีการพัฒนาแล้ว เช่น Linux TLE ของศูนย์เทคโนโลยีอิเลคทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์
แห่งชาติ (National Electronics and Computer Technology Centre) หรือ NECTEC


ประเภทระบบปฏิบัติการ

2.2.1 ระบบปฏิบัติการแบบเดี่ยว (Stand-alone OS)
ให้บริการสำหรับผู้ใช้คนเดียวใช้สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่ประมวลผล และทำงานทั่วไป

2.2.2 ระบบปฏิบัติการแบบเครือข่าย (Network OS)
มุ่งเน้นและให้บริการผู้ใช้หลายคน (multi-user)ใช้สำหรับระบบเครือข่ายโดยเฉพาะ

2.2.3 ระบบปฏิบัติการแบบฝัง (Embedded OS)
พบเห็นได้ในอุปกรณ์คอมพิวเตอร์พกพาขนาดเล็ก

คุณสมบัติการทำงาน

คุณสมบัติการทำงานระบบปฏิบัติการโดยทั่วไปจะมีคุณสมบัติในการทำงาน ดังนี้
2.1.1 การทำงานแบบ Multi-Tasking สามารถทำงานได้หลายงานหรือหลายโปรแกรมในเวลาเดียวกัน
2.1.2 การทำงานแบบ Multi-User สามารถทำงานกับผู้ใช้ได้หลายคนในขณะที่มี การประมวลผลของงานพร้อมกัน

♥♥♥♥♥♥---------------------------------------♥♥♥♥♥♥

วันพฤหัสบดีที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ระบบปฏิบัติการ


ระบบปฏิบัติการ คือ ซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ ให้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงต่าง ๆ ทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ ซอฟต์แวร์ระบบที่รู้จักกันดี คือ ระบบปฏิบัติการ(OS- Operating System) เช่น MS-DOS, UNIX, OS/2, Windows, Linux เป็นต้นระบบปฏิบัติการมีหน้าที่หลัก ๆ คือ การจัดสรรทรัพยากรในเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อให้บริการซอฟต์แวร์ประยุกต์ ในเรื่องการรับส่งและจัดเก็บข้อมูลกับฮาร์ดแวร์ เช่น การส่งข้อมูลภาพไปแสดงผลที่จอภาพ การส่งข้อมูลไปเก็บหรืออ่านจากฮาร์ดดิสก์ การรับส่งข้อมูลในระบบเครือข่าย การส่งสัญญานเสียงไปออกลำโพง หรือจัดสรรพื้นที่ในหน่วยความจำ ตามที่ซอฟต์แวร์ประยุกต์ร้องขอ รวมทั้งทำหน้าที่จัดสรรเวลาการใช้หน่วยประมวลผลกลาง ในกรณีที่อนุญาตให้รันซอฟต์แวร์ประยุกต์หลายๆ ตัวพร้อมๆ กัน
ระบบปฏิบัติการ ช่วยให้ตัวซอฟต์แวร์ประยุกต์ ไม่ต้องจัดการเรื่องเหล่านั้นด้วยตนเอง เพียงแค่เรียกใช้บริการจากระบบปฏิบัติการก็พอ ทำให้พัฒนาซอฟต์แวร์ประยุกต์ได้ง่ายขึ้น

วันจันทร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

เครื่อข่ายที่แบ่งตามลักษณะกายภาพ

เครือข่ายภายใน หรือ แลน (Local Area Network: LAN) เป็นเครือข่ายที่ใช้ในการ เชื่อมโยงกันในพื้นที่ใกล้เคียงกัน เช่นอยู่ในห้อง หรือภายในอาคารเดียวกัน

เครือข่ายวงกว้าง หรือ แวน (Wide Area Network: WAN) เป็นเครือข่ายที่ใช้ในการ เชื่อมโยงกัน ในระยะทางที่ห่างไกล อาจจะเป็น กิโลเมตร หรื

ข่ายงานบริเวณนครหลวง หรือ แมน (Metropolitan area network) : MAN)

เครือข่ายส่วนบุคคล หรือ แพน (Personal area network) : PAN) เป็นเครือข่ายไร้สาย อ หลาย ๆ กิโลเมตร

เครือข่ายที่แบ่งตามลักษณะการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์






peer - to - peer หมายถึง วิธีการจัดเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบหนึ่ง ที่กำหนดให้คอมพิวเตอร์ในเครือข่ายทุกเครื่องเหมือนกันหรือเท่าเทียมกัน หมายความว่า แต่ละเครื่องต่างมีโปรแกรมหรือมีแฟ้มข้อมูลเก็บไว้เอง การจัดแบบนี้ทำให้สามารถใช้โปรแกรมหรือแฟ้มข้อมูลของคอมพิวเตอร์เครื่องใดก็ได้ แทนที่จะต้องใช้จากเครื่องบริการแฟ้ม (file server) เท่านั้น วิธีการจัดอีกลักษณะหนึ่ง ที่เรียกว่า client-server นั้น คือการกำหนดให้คอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งเป็นเครื่องบริการแฟ้ม หรือเป็นที่เก็บโปรแกรมและแฟ้มทั้งหมด คอมพิวเตอร์ในเครือข่ายจะเรียกใช้โปรแกรมหรือแฟ้มข้อมูลจากกันไม่ได้ ต้องเรียกจากเครื่องบริการแฟ้มเท่านั้น ดู file server ประกอบ


ประโยชน์ของระบบเครือข่าย แบบ Peer to Peer
1. ติดตั้งง่าย ค่าใช้จ่ายน้อย เมื่อเทียบกับเครือข่ายอื่น ๆ
2. ไม่จำเป็นต้องมีการดูแล หรือผู้ชำนาญการสูง
3. สามารถดูข้อมูล แลกเปลี่ยนและแชร์การใช้อินเตอร์เน็ตร่วมกันได้
4. สามารถแชร์เครื่องพิมพ์ CD-ROM ร่วมกันได้ด้วย
5. ไม่จำเป็นต้องมี Server (คอมพิวเตอร์แม่)








Client / Server ระบบเครือข่ายแบบ Client / Server มีคอมพิวเตอร์หลักเรียกว่า File Server (ทำหน้าที่เป็นศูนย์รวมในการเก็บข้อมูล ทำให้สะดวกในการบริหารข้อมูล) File Server นี้จะต้องเปิดทิ้งไว้ ห้ามปิดในระหว่างการใช้งาน ส่วนคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้งานทั่ว ๆ ไปเราเรียกว่า Work Station สำหรับอุปกรณ์ที่จำเป็นในการติดต่อระบบเครือข่าย คือ สายเคเบิล และการ์ดเครือข่าย (LAN Card) ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมการไหล ของข้อมูล นอกจากนี้ยังต้องมี HUB ซึ่งเป็นอุปกรณ์ในการกระจายสัญญาณไปตาม Work Station ต่าง ๆซอร์ฟแวร์ที่เป็นที่นิยมในระบบเครือข่าย คือ Netware, Windows NT, Unix เป็นต้น


ข้อดีของการต่อแบบ Client / Server
1. สามารถแชร์ข้อมูล เครื่องพิมพ์ ของแต่ละเครื่องได้
2. มีระบบ Security ที่ดีมาก
3. รับส่งข่าวสารในลักษณะของ Email ได้ดี
4. สามารถจัดสรร แบ่งปันการใช้ทรัพยากรได้จากจุดศูนย์กลาง







วันอาทิตย์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

เครื่อข่ายที่แบ่งตามลักษณะกายภาพ



อินเทอร์เน็ต (Internet) อินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายที่ครอบคลุมทั่วโลก ซึ่งมีคอมพิวเตอร์เป็นล้าน ๆ เครื่องเชื่อมต่อเข้ากับระบบและยังขยายตัวขึ้นเรื่อย ๆ ทุกปี อินเทอร์เน็ตมีผู้ใช้ทั่วโลกหลายร้อยล้านคน และผู้ใช้เหล่านี้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารกันได้อย่างอิสระ โดยที่ระยะทางและเวลาไม่เป็นอุปสรรค นอกจากนี้ผู้ใช้ยังสามารถเข้าดูข้อมูลต่าง ๆ ที่ถูกตีพิมพ์ในอินเทอร์เน็ตได้ อินเทอร์เน็ตเชื่อมแหล่งข้อมูลต่าง ๆ เข้าด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นองค์กรธุรกิจ มหาวิทยาลัย หน่วยงานของรัฐบาล หรือแม้กระทั่งแหล่งข้อมูลบุคคล องค์กรธุรกิจหลายองค์กรได้ใช้อินเทอร์เน็ตช่วยในการทำการค้า เช่น การติดต่อซื้อขายผ่านอินเทอร์เน็ตหรืออีคอมเมิร์ช (E-Commerce) ซึ่งเป็นอีกช่องทางหนึ่งสำหรับการทำธุรกิจที่กำลังเป็นที่นิยม เนื่องจากมีต้นทุนที่ถูกกว่าและมีฐานลูกค้าที่ใหญ่มาก ส่วนข้อเสียของอินเทอร์เน็ตคือ ความปลอดภัยของข้อมูล เนื่องจากทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลทุกอย่างที่แลกเปลี่ยนผ่านอินเทอร์เน็ตได้






อินทราเน็ต (Intranet) ตรงกันข้ามกับอินเทอร์เน็ต อินทราเน็ตเป็นเครือข่ายส่วนบุคคลที่ใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต เช่น เว็บ, อีเมล, FTP เป็นต้น อินทราเน็ตใช้โปรโตคอล TCP/IP สำหรับการรับส่งข้อมูลเช่นเดียวกับอินเทอร์เน็ต ซึ่งโปรโตคอลนี้สามารถใช้ได้กับฮาร์ดแวร์หลายประเภท และสายสัญญาณหลายประเภท ฮาร์ดแวร์ที่ใช้สร้างเครือข่ายไม่ใช่ปัจจัยหลักของอินทราเน็ต แต่เป็นซอฟต์แวร์ที่ทำให้อินทราเน็ตทำงานได้ อินทราเน็ตเป็นเครือข่ายที่องค์กรสร้างขึ้นสำหรับให้พนักงานขององค์กรใช้เท่านั้น การแชร์ข้อมูลจะอยู่เฉพาะในอินทราเน็ตเท่านั้น หรือถ้ามีการแลกเปลี่ยนข้อมูลกับโลกภายนอกหรืออินเทอร์เน็ต องค์กรนั้นสามารถที่จะกำหนดนโยบายได้ ในขณะที่การแชร์ข้อมูลอินเทอร์เน็ตนั้นยังไม่มีองค์กรใดที่สามารถควบคุมการแลกเปลี่ยนข้อมูลได้






เอ็กส์ทราเน็ต (Extranet) เป็นเครือข่ายกึ่งอินเทอร์เน็ตกึ่งอินทราเน็ต กล่าวคือ เอ็กส์ทราเน็ตคือเครือข่ายที่เชื่อมต่อระหว่างอินทราเน็ตของสององค์กร ดังนั้นจะมีบางส่วนของเครือข่ายที่เป็นเจ้าของร่วมกันระหว่างสององค์กรหรือบริษัท การสร้างอินทราเน็ตจะไม่จำกัดด้วยเทคโนโลยี แต่จะยากตรงนโยบายที่เกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลที่ทั้งสององค์กรจะต้องตกลงกัน เช่น องค์กรหนึ่งอาจจะอนุญาตให้ผู้ใช้ของอีกองค์กรหนึ่งล็อกอินเข้าระบบอินทราเน็ตของตัวเองหรือไม่ เป็นต้น การสร้างเอ็กส์ทราเน็ตจะเน้นที่ระบบการรักษาความปลอดภัยข้อมูล รวมถึงการติดตั้งไฟร์วอลล์หรือระหว่างอินทราเน็ตและการเข้ารหัสข้อมูลและสิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ นโยบายการรักษาความปลอดภัยข้อมูลและการบังคับใช้


เครื่อข่ายที่แบ่งตามลักษณะกายภาพ